ประวัติโรงเรียนโรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2479 ตรงกับ วันเสาร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 9 ปีชวด ระยะแรกอาศัยเรียนที่อาคารเรียนของโรงเรียนประชาบาลตำบลตลาดใหม่ใช้ ชื่อว่าโรงเรียนวัดดอนเมือง(ทหารอากาศบำรุง)จนกระทั่ง 15 มกราคม 2492 กอง ทัพอากาศได้จัดสรรที่ดินของ กองทัพอากาศ ส่วนที่ติดกับคลองเปรมประชากรเหนือสถานีรถไฟดอนเมือง ไป 900 เมตร มีเนื้อที่ 41 – 1 –3 ไร่ให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนแห่งใหม่ พ.ศ. 2498 กระทรวงศึกษาธิการได้อนุญาตให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียน จาก โรงเรียนวัดดอนเมือง(ทหารอากาศบำรุง) เป็น โรงเรียนดอนเมือง“ทหารอากาศ บำรุง” โรงเรียนได้รับความอนุเคราะห์จากกองทัพอากาศมาโดยสม่ำเสมอ จนกระทั่ง พ.ศ. 2525 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง วัน ที่ 26 กรกฎาคม 2527 ได้อัญเชิญพระพุทธรูปประจำโรงเรียน ซึ่งมีนามว่า พระพุทธวิสุตมงคล โดยท่านพระครูวิสุตธรรมรส เจ้าอาวาสวัดดอนเมือง (พระอารามหลวง) ซึ่งปัจจุบัน คือ พระราชวิสุทธิมงคล มอบให้ ประดิษฐาน ณ ศาลาพุทธพิทักษ์ โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุงเป็นโรงเรียนที่มีขนาดใหญ่พิเศษ จัดการเรียน การสอนแบบสหศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
|
|||
สัญลักษณ์ของโรงเรียน
อักษรย่อของโรงเรียน คือ ด.ม.
ดอกไม้ประจำโรงเรียน
ดอกเฟื่องฟ้า
สีประจำโรงเรียน
อัตลักษณ์ของโรงเรียน SMART DM. (ดนดี คนเก่ง) |
|||
วิสัยทัศน์
โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง มุ่งพัฒนานักเรียนให้เป็นคนดี คนเก่ง ตามแนวหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง บนพื้นฐานแห่งความเป็นไทย พร้อมก้าวไกลเทคโนโลยี สู่มาตรฐานสากลโรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุงเป็นสถานศึกษาที่มุ่งพัฒนาและยกระดับนักเรียนให้เป็น คนดี คนเก่ง ระดับมาตรฐานสากล
พันธกิจ
พัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนและดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ เป้าประสงค์ 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5 กลุ่มสาระวิชาหลัก เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 4 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทุกคนมีทักษะการอ่านการเขียนเชิงวิเคราะห์และสร้างสรรค์ 3. เพิ่มศักยภาพนักเรียนในด้านภาษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศในระดับประเทศและสากล 4. นัก เรียนทุกคนมีความสำนึกในความเป็นประชาธิปไตยศรัทธาและยึดมั่นการปกครองใน ระบอบประชาธิปไตยอันมีประมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขและดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 5. สร้างทางเลือกการเรียนรู้เน้นให้ประชากรในวัยเรียนทุกคนเข้าถึงลดอัตราการออกกลางคันศึกษาต่อและประกอบอาชีพ 6. สร้างโอกาสทางการศึกษาให้นักเรียนทุกคนในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 เข้าเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาอย่างทั่วถึง 7.ส่งเสริมการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยการขยายสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบ
8. สถานศึกษาทุกแห่งมีระบบการประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็งและสถานศึกษาที่เข้ารับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ3 9. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2ผ่านการประเมินคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอยู่ในระดับดี 10. ครูและบุคลากรทางการศึกษา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 จัดทำวิจัยและพัฒนานวัตกรรม นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา สู่ความเป็นสากล จุดเน้น 1. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตามหลักสูตรและส่งเสริมความสามารถทางเทคโนโลยี เพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ 2. ปลูก ฝังคุณธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทยศรัทธาและยึดมั่นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอัน มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3. ขยาย โอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึง ครอบคลุมผู้เรียนในเขตพัฒนาการศึกษาได้เรียนตามศักยภาพของตนเอง และมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในเขตพัฒนาพิเศษ เฉพาะกิจจังหวัดชาย แดนภาคใต้ 4. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบ 5. พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน 6. ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม การพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่เทียบเคียงกับมาตรฐานสากล กลยุทย์ของโรงเรียน 1. เพื่อให้นักเรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีความรู้คู่คุณธรรม ศรัทธาและ ยึดมั่นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2. เพื่อให้นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และพัฒนาสู่ระดับมาตรฐานสากล 3. เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ความสามารถ มีจิตสาธารณะ มีสมรรถนะตามสายงานและ มาตรฐานวิชาชีพ 4. เพื่อให้สถานศึกษามีหลักสูตรที่ตอบสนองกับศักยภาพผู้เรียนและเทียงเคียงมาตรฐานสากล 5. เพื่อให้สถานศึกษามีระบบบริหารจัดการศึกษาด้วยระบบคุณภาพ 6. เพื่อให้สถานศึกษามีแหล่งเรียนรู้ สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการบริหารจัดการและการเรียนการสอนอย่างพอเพียง 7. เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีบรรยากาศ สิ่งแวดล้อม แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ 8. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของทุกภาคส่วน 9. เพื่อให้สถานศึกษามีแหล่งเรียนรู้ สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการบริหารจัดการและการเรียนการสอนอย่างพอเพียง 10. เพื่อให้ครูได้ทำงานวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและสถานศึกษามีงานวิจัยในการพัฒนางาน |